ขอบข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา
สมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา
(Association for Educational Communications
and Technology :AECT) ได้ใช้การแบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตามที่
Seels and Richey (1994) ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ ดังนี้
1) การออกแบบ (design)
1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional
systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย
การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร
เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่า ให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือกระบวนการสร้าง
ผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation)
คือการใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการสอน และการประเมิน (evaluation)
คือกระบวนการในการประเมินการสอน
1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน
เปลี่ยนแปลงสาร
เน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสาร มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน
1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก
ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน
ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน
ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน
การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน
รวมถึงลักษณะผู้เรียนธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน
2) การพัฒนา (development)
2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ
โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพ สิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ
สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ
2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา
หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ
ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม
เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับกับผู้เรียน
2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer-based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา
หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพเซสเชอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย
2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ
รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์
3) การใช้ (Utilization)
3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ
แหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน
3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์
หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม
3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation
and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่อง และใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ
3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) เป็นกฎระเบียบ
ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
4) การจัดการ (management)
4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน
กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน
4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร
ที่ช่วยระบบและการบริการ
4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ
และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
4.4 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน
กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย
หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
5) การประเมิน (evaluation)
5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุดโดยการใช้ข้อมูลต่าง
ๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ
5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion-referenced measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อประเมินการสอน
หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป
5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม
หรือโครงการต่อไป
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมากเพราะเทคโนโลยี มีส่วนช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มัลติมีเดีย การจัดการศึกษาทางไกลการสืบค้นข้อมูลจากออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้แนวโน้มของสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลงมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้นตลอดจนมีบทบาทต่อระบบการศึกษา ทั้งในและนอกระบบ ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมากเพราะเทคโนโลยี มีส่วนช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มัลติมีเดีย การจัดการศึกษาทางไกลการสืบค้นข้อมูลจากออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้แนวโน้มของสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลงมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้นตลอดจนมีบทบาทต่อระบบการศึกษา ทั้งในและนอกระบบ ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ดังนั้นขอบข่ายโครงสร้าง และองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษาจึงกว้างขวางครอบคลุมการจัดดำเนิน การเกี่ยวกับการศึกษาทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น